2553/02/16

7.ในซองมีอะไรอยู่บ้าง




-แพทเทิร์นที่ทำด้วยกระดาษทิชชู่
เส้นสายสัญลักษณ์ต่างๆบนกระดาษแพทเิทิร์นมีความหมายทั้งสิ้น
1.เส้นเกรนผ้า (grainline) เราจะเรียกริมผ้าด้านที่ไม่ลุ่ยว่า ผ้าตามยาว
ปกติแล้วเราจะวางแพทเทิร์นให้เส้นเกรน ขนานไปตามริมผ้าตามยาวด้าน
ที่ไม่ลุ่ยนี้ นอกจากเขาจะสั่งเป็นพิเศษให้วางผ้าตามขวาง หรือ
วางผ้าทแยงมุมเราจึงจะทำตาม

2.รอยตัดตามไซด์ต่างๆ (cutting line) เช่นไซด์ใหญ่สุดจะใช้เส้นทึบ
ไซด์เล็กลงมาใช้เส้นไข่ปลา เส้นพวกนี้มีความหนาของมันอยู่ ขอให้ผู้ใช้แพทเทิร์น
ตัดกระดาษเข้าไปในด้านในของเส้นเลย พูดง่ายๆคือตัดเส้นทิ้งไม่ให้เหลือหมึกพิมพ์
ถ้าตัดนอกเส้นจะมีผลต่อไซด์เล็กน้อย
แพทเทิร์นสำเร็จบางบริษัทโดยเฉพาะของอเมริกาจะรวมความกว้าง
ของตะเข็บไว้แล้ว 5/8 นิ้ว หรือ 1.50 ซม.
ส่วนใหญ่แล้วแพทเทิร์นจากยุโรปจะไม่เผื่อตะเข็บให้ เราต้องวัดและวาดใส่เข้าไปเองที่เขาทำเช่นนั้นเพื่อความสะดวก
ระหว่างการแก้ไขแพทเทิร์น

3.เส้นสำหรับปรับเปลี่ยนแก้ไขแพทเทิร์น (adjustment line)
สังเกตุง่ายๆว่าเป็นเส้นคู่ขนาน ถ้าเป็นเสื้อ ส่วนมากจะอยู่เหนือเอว
เพื่อหดหรือยืดแพทเทิร์นให้เหมาะสมกับ ความยาวจากปุ่มคอ ถึง เอว
บนแพทเทิร์นกางเกง หรือ กระโปรง ก็จะมีเส้นนี้เหมือนกันเพื่อพับ
ให้แพทเทิร์นสั้นลง หรือ ตัดต่อกระดาษให้แพทเทิร์นยาวขึ้น

4. เส้นกลางหน้า กลางหลัง (center front / center back lines) คือเส้นกึ่งกลางตัวมีความสำคัญต่อการวางผ้า และ
การหาจุดวางกระดุม/รังดุม

5. ตำแหน่งทบผ้า (fold line) จะได้ใช้ในช่วงของการเย็บผ้า
ควบคู่ไปกับการรีดผ้า เช่นบริเวณสาบเสื้อกลางตัว
6.ต่ำแหน่ง กระดุม และ รังดุม (buttons / buttonholes) ปกติแล้วเขาจะให้ตำแหน่งรังดุม/กระดุมมาสำหรับไซด์เล็กที่สุด
ไซด์อื่นที่ใหญ่กว่าจะต้องคำนวณเองจาก เม็ดกระดุม/รังดุม อันแรก

7.สัญลักษณ์ วงกลมแล้วมีกากะบาทข้างใน หมายถึง ตำแหน่งของจุดอก
(bust point, apex) เส้นเอว และ เส้นสะโพก

8.สัญลักษณ์วงเล็บสี่เหลี่ยมที่ด้านในเขียนว่า Fold ถ้าเป็นกระโปรงมักอยู่ตรงเส้นกลางหน้า กลางหลัง
แสดงว่าเราจะวางแพทเทิร์นนี้บนสันทบของผ้าก่อนตัด

9.เครื่องหมายสามเหลี่ยมเล็กๆที่อยู่บนเส้นรอยตัด (cutting line) มีความสำคัญในขณะเย็บเราจะประกบ
ตำแหน่งสามเหลี่ยมนี้เข้าด้วยกัน แล้วจับตะเข็บเย็บ
เวลาตัดกระดาษเราจะตัดสามเหลี่ยมให้เว้าเข้าไป เวลาเราตัดผ้าเราจะขลิบเส้นตรงนิดหน่อยเข้าไปบน
ตะเข็บผ้าด้วย

10.สัญลักษณ์พวก สามเหลี่ยม วงกลม เล็กๆ (แล้วแต่บริษัทจะใช้แบบไหน)ที่วางอยู่บริเวณต่างๆ
มีความหมายในขณะเย็บมาก เป็นการบ่งบอกว่า ตรงจุดไหนควรจะประกบพอดีกับจุดไหน เช่น
วงกลมเล็กๆบนเกล็ดกระโปรง (dart)หรือไม่ก็เป็นตัว
บ่งระยะ เช่นว่า ระหว่างสองจุดนี้ให้เย็บรูด จับจีบ ฯลฯ

11.ตำแหน่งวางซิป (zipper placement)
ก็จะใช้สัญลักษณ์พวกกลมๆเล็กๆเช่นกัน

12.เส้นความยาวเสื้อ กางเกง กระโปรง (hem line) ส่วนมากแพทเทิร์นจะเผื่อตะเข็บ
ให้เหมาะสมไว้แล้ว ถ้าเราไม่ชอบก็ปรับเปลี่ยนได้

13.ชื่อ โค้ด ไซด์ และ เลขที่ ของแพทเทิร์น เช่น front A เลขที่ 1 หมายถึง ชิ้นหน้า แบบ A(บางครั้งแพทเทิร์นเดียวกันสามารถเลือกใช้ได้
หลายดีไซด์ view A , view B, view C ) นอกจากนี้ยังมีคำสั่งว่า ให้ตัดผ้าจริงกี่ชิ้น ผ้าซับในกี่ชิ้น บนสันทบหรือไม่
นับว่าส่วนนี้มีประโยชน์มากต่อการวางผ้า
ตัดผ้า และ การเก็บรักษาแพทเทิร์น

1 ความคิดเห็น :